Translate

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทที่3 Flowchart หรือ แผนผังโปรแกรม

Flowchart หรือ แผนผังโปรแกรม

           ก่อนจะเริ่มเขียนโปรแกรมกัน เรามารู้จักการเขียนและอ่านFlowchart กันก่อนครับ ไม่จำเป็นต้องจำได้หรอกนะครับ เพียงแค่เห็นFlowchart แล้วอ่านออก เข้าใจความหมายของมันก็เพียงพอแล้วครับ  เพราะFlowchart จะสำคัญมากหากเราต้องการอธิบายโปรแกรมให้ผู้อื่นเข้าใจโปรแกรมของเรา แต่กาอธิบายทุกส่วนนั้นเป็นเรื่องยากครับ เพราะต้องใช้เวลานาน แต่ผมว่าจริงๆแล้วเราขี้เกียจอธิบายมากกว่าครับ  
           Flowchart เขียนเพื่อให้เป็นภาพรวมของโปรแกรม และรายละเอียดคร่าวๆครับ ขอเริ่มจากสัญลักษณ์ต่างๆในFlowchart ก่อนเลย

ตารางสัญลักษณ์ที่ใช้ในFlowchart


จะเห็นว่ามีไม่กี่เครื่องหมายเองครับ
ผลของแนะนำทีละตัวนะครับ

 เอาไว้เชื่อม/บอกทิศทางของโปรแกรม เจ้าเส้นเชื่อมนี้ใช้มากที่สุดในโปรแกรม มองดูแล้วเหมือนไม่มีความสำคัญ แต่ที่จริงแล้วมันสามรถทำให้เราเข้าใจว่าโปรแกรมไปในทิศทางไหน มาจากส่นไหน ไปส่วนใน พูแล้วต้องไปดูกัยเลยครับ

ตัวอย่าง

แสดงให้เห็นว่าทิศทางโปรแกรมคือ เริ่มจาก start ไปหา stop
-------------------------------------------------------------------------------------

 เอาไว้บอกให้รู้ว่าจะเริ่มโปรแกรมแล้วนะ หรือ โปรแกรมสิ้นสุดแล้วนะ ตัวนี้ในเพียงสองส่วนของโปรแกรมครับ ต้องเจอมันแน่ๆตรงหัวโปรแกรม และเจออีกครั้งที่ท้ายโปรแกรมครับหากไปเจอมันแสดงว่าFlowchart นั้นยังมีต่อครับยังไม่หมด

ตัวอย่าง

แสดงให้ผู้อื่นรู้ว่าโปรแกรมเริ่มตรงstart แล้วก็มาจบตรงstop
-------------------------------------------------------------------------------------

 เมื่อเห็นตัวนี้ให้นึกถึงinput หรือ output เอาไว้เลย แต่จะเป็นอะไรนั้นต้องไปดูที่แผนผัง อีกทีครับ  จะเจอมากหากโปรแกรมของตัวมีการรับข้อมูล หรือ แสดงข้อมูลอยู่บ่อยครั้ง แต่เราสามารถเขียนรวบไว้ในอันเดียวได้ถ้าหากการรับข้อมูล หรือแสดงผลนั้นๆอยู่ติดกัน แต่ถ้าไม่ได้อยู่ติดกันก็ไม่สามารถเขียนรวบไว้ในอันเดียวได้นะครับ
ตัวอย่าง


จะเห็นว่าตัวแรกคือการรับค่าตัวแปรAจะคีย์บอร์ด และตัวที่สองคือการแสดงผลค่าตัวแปรA
-------------------------------------------------------------------------------------

 เมื่อเห็นตัวนี้เมื่อไหร่ก็คิดได้เลยว่ามีการประมวลผลเกิดขึ้น ซึ่งจะเจอมากในโปรแกรมที่มีการคำนวณเยอะๆ เช่นคิดค่าสินค้าในร้านค้า ที่ปีะกอบด้วย ค่าต้นทุน ค่าภาษี ส่วนลด และราคาสุทธิ อ่านแล้วเยอะมั้ยครับ จริงๆแล้วเวลาเขียนโปรแกรมนั้นไม่ได้ยากหรอกครับ ง่ายกว่าใช้เครื่องคิดเลขครับ ผมขอยืนยันเลย

ตัวอย่าง

จะเห็นว่าในมีการประมวลผลคือกำหนดให้ค่าตัวแปรA=1
-------------------------------------------------------------------------------------

 ใช้เมื่อมีเงื่อนไขที่ต้องสอบตรวจแล้วจะเกิดทางเลือกเป็น2ทางเลือกแยกออกจากกัน   เพื่อทำความเงื่อนไขที่ต้องการ ซึ่งจะใช้เยอะหากเราต้องการโปรแกรมที่มีความเที่ยงตรงสูง เพราะมันจะช่วยให้โปรแกรมมีความไม่สับสนถ้าถูกก็ทำ ไม่ถูกก็ไม่ทำครับ

ตัวอย่าง

จะเห็นว่าเงื่อนไขคือAต้องมากกว่า1 ซึ่งในกรณีนี้จะได้ผลจากการตรวจสอบว่าผลเป็นNo
-------------------------------------------------------------------------------------

 ใช้เชื่อมโปรแกรมท่อยู่ในหน้าเดียวกัน จะเจอมันเชื่อมตามจุดต่างๆของโปรแกรมที่มาจากคนละส่วนของโปรแกรมครับ เพื่อไปส่วนจุดหมายเดียวกันของโปรแกรม ซึ่งเจ้านี่จะใช้เชื่อมสิ่งที่อยู่ในหน้ากระดาษเดียวกันเท่านั้นนะครับ


ตัวอย่าง


จะเห็นว่าใช้เชื่อมโปรแกรมที่มาจากคนละส่วนให้มาบรรจบกัน
-------------------------------------------------------------------------------------

 ใช้เชื่อมโปรแกรมที่อยู่คนละหน้าหรือมีต่อหน้าต่อไป จะเจอตรงส่วนท้ายกรัดาษ หรือส่วนหัวกระดาษ เนื่องจากกระดาษแผ่นเดียวเขียนFlowchart ไม่พอนั่นเองครับ ให้เราดูในกระดาษแผ่นถัดไปครับ ไม่ยากเลย แต่ก็สำคัญครับ

ตัวอย่าง
หน้า1

หน้า2

จะเห็นว่าเห็นการเชื่่อมโปรแกรมที่อยู่คนละหน้าให้เชื่อมต่อกัน
-------------------------------------------------------------------------------------

 ใช้เมื่อมีการเรียกใช้ฟังก์ชันย่อย เจ้านี่ผมว่าสำคัญครับ เพราะโปรแกรมที่เป็นส่วนหลัก จะประกอบไปด้วยฟังก์ชันย่อยๆมากมายเลย ถ้าเราดูเจ้านี่ไม่เป็นแย่เลยครับ แต่การที่เจอมันก็แสดงว่ามีโปรแกรมส่วนย่อยอื่นอีกครับ

ตัวอย่าง

จะเห็นว่าเห็นการเรียกใช้ฟังก์ชันย่อย คือฟังก์ชันAdd นั่นเองครับ
-------------------------------------------------------------------------------------

Example           

           เมื่อจบการแนะนำสัญลักษณ์แล้ว ต่อไปมาดูตัวอย่างกันครับ ขอเริ่มจากง่ายไปยากนะครับ

1.ตัวอย่างแรกประกอบด้วย 
  1. เริ่มต้น/สิ้นสุดโปรแกรม
  2. รับข้อมูล/แสดงผลข้อมูล
  3. ส่วนประมวลผล
  4. เส้นเชื่อมโปรแกรม



อธิบายFlowchart
  1. เรื่มต้นโปรแกรม 
  2. รับข้อมูลจากคีย์บอร์ด แล้วเก็บไว้ที่ตัวแปรA
  3. กำหนดค่าให้ตัวแปรAมีค่าเท่ากับ 1
  4. แสดงผลค่าของตัวแปรA ทางหน้าจอ
  5. สิ้นสุดโปรแกรม
-------------------------------------------------------------------------------------

2.ตัวอย่างที่สองประกอบด้วย
  1. เริ่มต้น/สิ้นสุดโปรแกรม
  2. รับข้อมูล/แสดงผลข้อมูล
  3. ส่วนเงื่อนไข
  4. ส่วนเชื่อมโปรแกรมให้มาบรรจบกัน
  5. เส้นเชื่อมโปรแกรม


อธิบายFlowchart
  1. เรื่มต้นโปรแกรม 
  2. รับข้อมูลจากคีย์บอร์ด แล้วเก็บไว้ที่ตัวแปรA
  3. ตรวจสอบเงื่อนไขAต้องมากกว่า1 ผลที่ได้คือNo เพราะAไม่มากกว่า1
  4. สิ้นสุดโปรแกรม
            *กรณีที่Aมีค่ามากกว่า1 ผลที่ได้คือYes โปรแกรมจะไปยังส่วนแสดงผล แล้วแสดงผลตัวแปรAทางหน้าจอ
-------------------------------------------------------------------------------------

3.ตัวอย่างที่สามประกอบด้วย
  1. เริ่มต้น/สิ้นสุดโปรแกรม
  2. รับข้อมูล/แสดงผลข้อมูล
  3. ส่วนประมวลผล
  4. ส่วนเงื่อนไข
  5. ส่วนเชื่อมโปรแกรมให้มาบรรจบกัน
  6. เส้นเชื่อมโปรแกรม

อธิบายFlowchart
  1. เรื่มต้นโปรแกรม 
  2. รับข้อมูลจากคีย์บอร์ด แล้วเก็บไว้ที่ตัวแปรA และ B
  3. กำหนดให้ค่าตัวแปร C = A+B
  4. ตรวจสอบเงื่อนไขCต้องน้อยกว่า10 ถ้าผลที่ได้คือYes จะแสดงผลเป็นค่าตัวแปรCทางหน้าจอ แต่ถ้าผลที่ได้คือNo จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น
  5. สิ้นสุดโปรแกรม
-------------------------------------------------------------------------------------

4.ตัวอย่างที่สี่ประกอบด้วย
  1. เริ่มต้น/สิ้นสุดโปรแกรม
  2. รับข้อมูล/แสดงผลข้อมูล
  3. ส่วนประมวลผล
  4. ส่วนเงื่อนไข
  5. ส่วนเชื่อมโปรแกรมให้มาบรรจบกัน
  6. เส้นเชื่อมโปรแกรม

อธิบายFlowchart
  1. เรื่มต้นโปรแกรม 
  2. รับข้อมูลจากคีย์บอร์ด แล้วเก็บไว้ที่ตัวแปรA และ B
  3. กำหนดให้ค่าตัวแปร C = A+B
  4. ตรวจสอบเงื่อนไขCต้องน้อยกว่า10 ถ้าผลที่ได้คือYes จะไปในส่วนการเรียกใช้ฟังก์ชั่นย่อย แต่ถ้าผลที่ได้คือNo จะแสดงผลเป็นค่าตัวแปรCทางหน้าจอ
  5. สิ้นสุดโปรแกรม
-------------------------------------------------------------------------------------

พรุ่งนี้จะมาเพิ่มแบบฝึกหัดให้นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น